R.O.P.
โรคตาบอดในเด็กคลอดก่อนกำหนด
โดย นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย
12 สิงหาคม 2549
เนื่องจากโรค
ROP เป็นโรคที่คาบเกี่ยวและสัมพันธ์กันในการดูแลของกุมารแพทย์และจักษุแพทย์ ดังนั้นความรู้โดยองค์รวมจึงมีความจำเป็น
เพื่อการทำงานเป็นทีมในการแลผู้ป่วย
1. Respiratory distress syndrome ( RDS )
เป็นภาวะที่พบในทารกคลอดก่อนกำหนด มีอาการหายใจลำบาก ผิวหนังมีสีม่วงคล้ำ ( Central
cyanosis ) จะสังเกตได้ชัดเวลาเด็กเกร็งตัวหรือร้องไห้
สาเหตุ เกิดจากปอดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์
ขาดสารสำคัญที่ทำหน้าที่หล่อลื่นในถุงลม ( Surfactant ) ทำให้ถุงลมบางส่วนไม่สามารถพองตัวออกเมื่อหายใจเข้า
อ๊อกซิเจนจากอากาศจึงไม่สามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้พอเพียง จนเกิดภาวะขาดอ๊อกซิเจน
( Hypoxia )
Surfactant เป็นสารลดแรงตึงผิวในถุงลม
มีไขมันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ช่วยให้ปอดทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอ๊อกซิเจนและคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ได้เป็นปกติ
ปัจจุบันมีสาร Surfactant สังเคราะห์ ( Synthetic or Natural Surfactant ) ให้ทดแทนเพื่อแก้ปัญหา
RDS ได้แล้ว
การให้อ๊อกซิเจน มีหลักการที่สำคัญ
คือ ให้อ๊อกซิเจนน้อยที่สุดเท่าที่ทารกจะไม่ตัวเขียว ( Cyanosis ) โดยมี PaO2 อยู่ระหว่าง
50 - 70 มม.ปรอท การให้อ๊อกซิเจนมากเกินไป จะกระตุ้นให้เกิดผลแทรกซ้อน 2 ประการ คือ
1.1
ROP ( Retinopathy of Prematurity ) เกิดการงอกผิดปกติของเส้นเลือดบนจอประสาทตา
ดึงรั้งให้จอประสาทตาหลุดลอกและทำให้ตาบอดได้
1.2
BPD ( Bronchopulmonary dysplasia ) เกิดการทำลายและเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อของปอดที่กำลังเจริญเติบโต
ซึ่งจะทำให้การสร้างสาร Surfactant น้อยลงไปอีก
2. Anemia of Prematurity
ภายหลังคลอด ฮีโมโกลบินและเม็ดเลือดแดง จะลดลงอย่างรวดเร็วในทารกคลอดก่อนกำหนด ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมาก
ก็ยิ่งจะลดลงเร็วและลดลงมาก
สาเหตุ เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน
เช่น การเจาะเลือดทารกไปตรวจ, ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด ( Sepsis ) , ระดับ Erythropoietin
ที่น้อย ทำให้ไม่สามารถกระตุ้นไขกระดูก ( Bone marrow ) ให้สร้างเม็ดเลือดแดงได้เต็มที่
และปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะเลือดจาง คือ มีการแตกสลายอย่างต่อเนื่องของเม็ดเลือดแดง
HbF ( Fetal hemoglobin ) ในช่วง 3 เดือนแรกหลังคลอด เพื่อปรับเปลี่ยนเป็นเม็ดเลือดแดง
HbA ( Adult hemoglobin )
การรักษา ให้ Packed red cells 10
- 15 มล./ กก. เพื่อรักษาระดับ ฮีโมโกลบินให้มากกว่า 13 กรัม / ดล. ( Hct. มากกว่า40%)
จาก Flow chart
ที่แสดงความสัมพันธ์ในการดูแลผู้ป่วยเด็กคลอดก่อนกำหนดของกุมารแพทย์และจักษุแพทย์
จะเห็นได้ว่า บทบาทของกุมารแพทย์มีความสำคัญมากที่จะก่อให้เกิดปัญหา
ROP ตลอดจนระดับความรุนแรงของ ROP จักษุแพทย์ทำหน้าที่เพียงตรวจหา
ติดตาม และรักษา เมื่อเกิด ROP แล้วเท่านั้น
เนื่องจากในปัจจุบัน
มาตรฐานการดูแลรักษาเด็กคลอดก่อนกำหนดของกุมารแพทย์ ได้พัฒนาถึงจุดที่สามารถควบคุมการเกิด
ROP ได้แล้ว ( การใช้สาร Synthetic surfactant ) ตลอดจนการป้องกันโรคไม่ให้รุนแรง
( การให้ Packed red cells เพื่อ control Hct. ให้มากกว่า 40% ) จึงทำให้ปัญหา สำหรับจักษุแพทย์ลดลงเรื่อยๆ
ตามมาตรฐานการรักษาของกุมารแพทย์ดังกล่าว
นั่นคือ เราสามารถควบคุมการเกิดโรค และควบคุมความรุนแรงของโรค ROP ได้ หากจักษุแพทย์และกุมารแพทย์ร่วมมือกันดูแลผู้ป่วยด้วย Team work ที่ดี
ติดต่อ นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย
e-mail [email protected] or [email protected]
ติดต่อเข้ารับการรักษา ศูนย์ฟื้นฟูประสาทตาและการมองเห็น โรงพยาบาลเอกชัย.
วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น.
โทร. 03-441-7999 หรือสายด่วน โทร. 1715
กลับสู่หน้าหลักงานวิจัยของน.พ.
สมเกียรติ